โครงสร้างหลักสูตร

1. หมวดวิชาบังคับ

LNG 701 วิธีวิจัยระดับสูง                                                3(3-0-9)

วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

ธรรมชาติของการทำวิจัยและวิธีการทำวิจัย ความหมายของการวิจัย  ควมสัมพันธ์ระหว่างการทำวิจัยและองค์ความรู้ ประเภทการทำวิจัยและการประยุกต์ใช้ ตัวแปรความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ของการวิจัยเชิงคุณภาพ อาทิ การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การเขียนบันทึก การสังเกตการณ์  การใช้สถิติ  จริยธรรมวิจัย การทำหัวข้อให้แคบลง การวิเคราะห์วิจารณ์งานวิจัยอื่นๆ หารออกแบบเครื่องมือการเก็บข้อมูลการเตรียมและวิเคราะห์ข้อมูล

LNG 702  ทฤษฎีทางภาษาศาสตร์                                                             3(3-0-9)

วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

ลักษณะเฉพาะและการใช้งานพื้นฐานของภาษา ปรัชญาแนวทางการศึกษาภาษา(prescriptive v. descriptive, structuralist v. social, static v. dynamic, rule-based v. pattern-based) พื้นฐานการวิเคราะห์หน่วยคำ กฎเกณฑ์ ไวยากรณ์ ความหมาย วัจนปฏิบัติศาสตร์ สัทศาสตร์ สัทวิทยา  วิทยาหน่วยคำวากยสัมพันธ์   อวัจนภาษาศาสตร์ (Paralinguistics) และ สัญศาสตร์ (semiotics) การเลือกและส่งผลกระทบในการใช้ภาษา

หรือ

LNG 703  ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษา                                             3(3-0-9)

วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

การประยุกต์ทฤษฎีทางการศึกษาโดยทั่วไป เช่น การเรียนโดยเน้นเรื่องพฤติกรรม (behaviourism) การเรียนโดยเน้นปริชาน (cognitivism) การเรียนด้วยการค้นพบ (discovery learning) การเรียนแบบ (social constructivism) และการเรียนด้วยการเชื่อมโยงความคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนภาษาและการรับรู้ทางภาษา ความแตกต่างของผู้เรียนและปัจจัยทางด้านจิตใจ ความจำ ลักษณะการเรียน แรงจูงใจ ผู้อิสระในการเรียน ปัจจัยที่ส่งผลต่อในการเรียนรู้

2. หมวดวิชาเลือก

LNG 711   การวิจัยเกี่ยวกับการวิเคราะห์สัมพันธสาร                                 3(3-0-9)

วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

แนวทางการวิเคราะห์วาทกรรม  การวิเคราะห์โครงสร้างสาร  ภาษาศาสตร์ข้อความ  การวิเคราะห์ประเภทการวิเคราะห์การสนทนา  วิธีตีความวาทกรรม  การวิเคราะห์วาทกรรมทางสังคมวิทยา

วาทกรรมวิเคราะห์ การวิเคราะห์เครื่องหมาย โวหารความคล้ายคลึง การวิเคราะห์โดยใช้คลังข้อความ (Corpus) และวิธีการคำนวณเพื่อวาทกรรม

LNG 712   ภาษาศาสตร์เชิงสังคม                                             3(3-0-9)

วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

เนื้อหาทางด้านภาษาศาสตร์สังคม ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมความหลากหลายทางภาษาศาสตร์ที่มีผลกระทบต่อการใช้ภาษา เนื้อหาครอบคลุมภาษาศาสตร์สังคมเชิงปฏิสัมพันธ์ (interactive) บทบาทของภาษาต่อการกำหนดเอกลักษณ์ของบุคคล และ ชุมชน ความหลากหลายทางการใช้ภาษาซึ่งสัมพันธ์กับเอกลักษณ์ทางสังคม ชนชั้น อายุ และ เพศ ความหลากหลายของการใช้ภาษาในการทำงานและการใช้ภาษาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำเนียงและภาษาถิ่น ความหลากหลายในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม (cross-cultural) และวัจนปฏิบัติศาสตร์ (pragmatics) โครงสร้างด้านสัมพันธสาร วัจนกรรม (speech act) และการเปลี่ยนผลัด (turn – taking)  การเปลี่ยนแปลงของภาษาซึ่งรวมถึงการเกิดภาษาพิดจิน (pidginization) และการรับวัฒนธรรมอื่น (acculturation)ภาษาระหว่างประเทศ และนานาภาษาอังกฤษโลก (world Englishes)ภาษาศาสตร์สังคมประยุกต์รวมถึงนโยบายด้านภาษาและการศึกษาของประเทศไทย งานวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์สังคม การประเมินผลเน้นการวิจัยทางภาษาศาสตร์สังคม

LNG 713   กระบวนการเรียนภาษา                                           3(3-0-9)

วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

กระบวนการใช้ภาษาของมนุษย์  ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการรับรู้และใช้ภาษาและวิธีการที่ใช้ศึกษาค้นคว้าทางด้านนี้ ธรรมชาติของกระบวนการการเรียนรู้ภาษา ความเชื่อของผู้ใช้ภาษา  กระบวนการเก็บข้อมูลและการจำ ความสนใจของผู้ใช้ภาษา และกลยุทธ์ในการใช้ภาษา ความหมายโดยนัยที่มีต่อการเรียนภาษาที่สอง และภาษาต่างประเทศ ฝึกฝนและเรียนรู้การสร้างรูปแบบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนและรับรู้ภาษา การเลือกเครื่องมือในการวิจัยและการเก็บข้อมูล  

LNG 714   ทฤษฎีและการวิจัยการอ่าน                                             3(3-0-9)

วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน  แบบจำลองการอ่าน ทักษะการอ่าน   กลยุทธ์การอ่าน ลักษณะของผู้อ่านที่ที่มีและไม่มีประสิทธิภาพ   ทฤษฎีสกีมมา  (schema theory)    คำศัพท์   ประเภทและระดับความยากง่ายของบทความ (text)    การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการอ่านในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ    การอ่านในภาษาที่หนึ่งและ ภาษาที่สองหรือภาษาต่างประเทศ  ระเบียบวิธีการวิจัยการอ่าน

LNG 715   หัวข้อที่เกี่ยวกับภาษาศาสตร์และการศึกษาในประเทศไทย                              3(3-0-9)

วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

ภาษาศาสตร์สังคมของการใช้ภาษาในประเทศไทย วิภาษและความหลากหลายขึ้นอยู่กับบริบทของไทยวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณในการใช้ภาษาไทย      โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการเมือง    การใช้ภาษาอังกฤษในประเทศไทย นานาภาษาอังกฤษโลก    และภาษาอังกฤษแบบไทย การวิเคราะห์เชิงสำนวนความคล้ายคลึงของภาษาไทยและอังกฤษ  ระบบการศึกษาในประเทศไทยและนโยบายการศึกษา     การวิเคราะห์ปัญหาที่สำคัญของระบบการศึกษาไทย   การเปรียบเทียบนโยบายการศึกษาและการปฏิบัติในประเทศไทย     กรณีศึกษานวัตกรรมทางการศึกษา  ลักษณะของนักเรียนไทยและความเชื่อของครูภาษาไทย  การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยและปัญหาทางวัฒนธรรมในการประยุกต์ใช้วิธีการเรียนการสอน

LNG 716   การวิจัยเกี่ยวกับการให้อิสระในการเรียนภาษา                                 3(3-0-9)

วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

ทฤษฎีเกี่ยวกับการให้อิสระในการเรียนและการประยุกต์ใช้ทฤษฎีนี้ในการสอนภาษาอังกฤษ โดยใช้การเตรียมผู้เรียน และการให้ผู้เรียนเรียนด้วยตนเองจากสื่อ  การให้อิสระในการเรียน  กับวัฒนธรรม  การให้อิสระในการเรียนกับเป็นประเด็นทางการเมือง  การให้อิสระในการเรียนกับเป็นประเด็นการให้อิสระในการเรียนกับเป็นประเด็นสังคม   และการให้อิสระแก่ครู  การนำเอาแนวคิดเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ของผู้เรียน โดยเน้นการวิจัยเกี่ยวกับการให้อิสระในการเรียน

LNG 717   การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์                   3(3-0-9)

วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

ทฤษฎีและงานวิจัยทางด้านการใช้และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนภาษา การเปรียบเทียบการเรียนภาษาอังกฤษโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาและโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น ๆ  หลักการเรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษา  หลักการของการเรียนแบบอีเลิร์นนิ่งและการเปรียบเทียบอีเลิร์นนิ่งประเภทต่างๆ    ภาษาศาสตร์คลังข้อมูล  คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษาอัจฉริยะ การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์  การเรียนรู้ที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การรับรู้ของผู้เรียนต่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษา  การเรียนรู้แบบออนไลน์ และสิ่งสนับสนุนการประเมินผลการเรียนภาษาโดยใช้คอมพิวเตอร์นวัตกรรม การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษา และวิธีการทำวิจัยทางด้านการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนภาษา

LNG 718   การวัดผลทางการศึกษา                                          3(3-0-9)

วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

วัตถุประสงค์  แนวคิด หลักการและวิธีการวัดผลที่ใช้ทางการศึกษา การประเมินรายวิชา บทเรียน นวัตกรรม และผู้สอน การทดสอบทางภาษา และการประเมินแบบต่อเนื่องซึ่งครอบคลุมถึงหลักการสร้างเครื่องมือสำหรับการประเมิน ความเที่ยงตรงและน่าเชื่อถือของเครื่องมือ การวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อวัดความเที่ยงตรงและมาตรฐานของเครื่องมือวัด

LNG 719  สถิติสำหรับการวิจัยเชิงภาษาศาสตร์ประยุกต์                              3(3-0-9)

วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

การใช้สถิติแบบต่างๆในงานวิจัยเชิงภาษาศาสตร์ประยุกต์รวมถึงเกณฑ์ในการเลือกใช้สถิตินั้นๆ ให้เหมาะกับประเภทของงานวิจัย  การฝึกใช้โปรแกรมสถิติเช่น SPSS และโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา การสร้างรหัสในการวิเคราะห์ข้อมูล การจัดลำดับข้อมูล การแปรผลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

LNG 720  หัวข้อพิเศษ 1                                                 3(3-0-9)

วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

รายวิชาครอบคลุมหัวข้อที่เป็นที่สนใจในปัจจุบัน ในสาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ โดยจัดสอนตามความพร้อมของบุคลากรและตามความถนัดของผู้เรียน

LNG 721  หัวข้อพิเศษ 2                                                 3(3-0-9)

วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

รายวิชาครอบคลุมหัวข้อที่เป็นที่สนใจในปัจจุบัน ในสาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ โดยจัดสอนตามความพร้อมของบุคลากรและตามความถนัดของผู้เรียน

LNG 722  หัวข้อพิเศษ 3                                                 3(3-0-9)

วิชาบังคับก่อน : ไม่มี

รายวิชาครอบคลุมหัวข้อที่เป็นที่สนใจในปัจจุบัน ในสาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ โดยจัดสอนตามความพร้อมของบุคลากรและตามความถนัดของผู้เรียน

3. วิทยานิพนธ์

LNG 731 วิทยานิพนธ์ 48  หน่วยกิต

นักศึกษาทำงานวิจัยภายใต้การควบคุมและแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดยประยุกต์สิ่งที่เรียนมาเพื่อทำงานวิจัยที่มีความลึก เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในศาสตร์นี้

LNG 732 วิทยานิพนธ์ 36  หน่วยกิต

นักศึกษาทำงานวิจัยภายใต้การควบคุมและแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดยประยุกต์สิ่งที่เรียนมาเพื่อทำงานวิจัยที่มีความลึก เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในศาสตร์นี้



King Mongkut's University of Technology Thonburi