รายละเอียดรายวิชา

คำอธิบายรายวิชา

1. หมวดวิชาพื้นฐาน

LNG 500       ภาษาและทักษะในการเรียนรู้ 3 (3-0-9)

ทักษะการฟัง  การพูด  การอ่านและการเขียนขั้นสูง  รูปแบบภาษาทางวิชาการ:  การบรรยาย การเขียนเนื้อหาสิ่งต่างๆ การเขียนงานที่ได้รับมอบหมาย  การนำเสนองาน  การถกแถลง  การสนทนา  ทักษะการใช้ความคิดเพื่อใช้ในการเรียนรู้ทั้งด้านวิชาการและการสอน

2. หมวดวิชาบังคับ

LNG 501       ภาษาศาสตร์เบื้องต้น 3(3-0-9)

ขอบเขตของภาษาศาสตร์ ธรรมชาติของภาษา แนวคิดหลักด้านภาษาศาสตร์สำหรับครูภาษา (สัทศาสตร์ และระบบเสียง สัทอรรถวิทยา วากยสัมพันธ์ อรรถศาสตร์ และวัจนปฏิบัติศาสตร์) ความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษสำหรับครู (ศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับภาษา การใช้ภาษาและความรู้เกี่ยวกับภาษา ไวยากรณ์เชิงหน้าที่ ไวยากรณ์สำหรับการสอน) การวิเคราะห์ประโยค การสำรวจภาษาและไวยากรณ์กระบวนการเขียนและกลยุทธ์การเขียน  การสอนไวยากรณ์และการอธิบาย  กิจกรรมสำหรับ   การเขียน การสอนการเขียน การเตรียมสอนการเขียน การประเมินผลและการให้คำแนะนำสำหรับ  การแก้ไขงานเขียน  การฝึกสอนการเขียน  (ปฏิบัติในชั้นเรียนจริง)  กลยุทธ์การพูด  กิจกรรมการพูด การสอนการพูด  การเตรียมสอนการพูด  การประเมินผลและการให้คำแนะนำสำหรับการปรับปรุงการพูด การฝึกสอนการพูด (ปฏิบัติในชั้นเรียนจริง)การเขียน การเตรียมสอนการเขียน การประเมินผลและการให้คำแนะนำสำหรับ  การแก้ไขงานเขียน  การฝึกสอนการเขียน  (ปฏิบัติในชั้นเรียนจริง)  กลยุทธ์การพูด  กิจกรรมการพูด การสอนการพูด  การเตรียมสอนการพูด  การประเมินผลและการให้คำแนะนำสำหรับการปรับปรุงการพูด การฝึกสอนการพูด (ปฏิบัติในชั้นเรียนจริง)ทฤษฎีพื้นฐานของการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ความคิดรวบยอดและเหตุผลของการเรียนรู้ด้วยตนเอง แรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความแตกต่างของปัจเจกบุคคลและแนวการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน  การเรียนด้วยตนเองในห้องเรียนปกติ  การฝึกผู้เรียน ได้แก่ การเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนรู้ถึงวิธีการเรียนรู้  การทำงานด้วยตนเอง  การผสมผสานการเรียนรู้ด้วยตนเองกับโครงการสอนหลัก  การก่อตั้งและบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง  การออกแบบบทเรียนและการประเมินระบบต่างๆ ของการเรียนด้วยตนเองนักศึกษาจะมีโอกาสประยุกต์ใช้ทักษะและความรู้ที่ได้จากการเรียนรายวิชาต่างๆในหลักสูตรฯ เพื่อทำการศึกษาในขอบข่ายเล็กๆ โดยการสำรวจและค้นคว้าแนวคิดด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์  ในสาขาที่ตนเองสนใจ

LNG 502       ทฤษฎีภาษาศาสตร์ในการสอนภาษาอังกฤษ 3(3-0-9)

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาศาสตร์และการสอนภาษา  ทฤษฎีไวยากรณ์จารีตกับวิธีการสอนแบบเน้นไวยากรณ์และการแปล ทฤษฎีโครงสร้างนิยมกับการสอนแบบเน้นการพูดและการฟัง  ไวยากรณ์ปริวรรตเพิ่มพูนและอิทธิพลที่มีต่อการเรียนการสอน  มุมมองเกี่ยวกับภาษาในเชิงภาษาศาสตร์สังคม  ความหลากหลายทางภาษา  หลักสูตรที่เน้นหัวเรื่องและหน้าที่ของภาษา  การสอนภาษาแบบเน้นการสื่อสาร  ทฤษฎีทางภาษาด้านวาทกรรมและอิทธิพลที่มีต่อการเรียนการสอน

LNG 511       ทฤษฎีการสอน 1 3(3-0-9)

วัตถุประสงค์ของการสอน ความเชื่อและปัจจัยที่มีผลต่อการสอน  การสอนและการเรียนรู้ บทบาทและจริยธรรมของครู บทบาทของผู้เรียน  อำนาจในชั้นเรียน  การสอนที่มีประสิทธิภาพ ปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน  การพูดของครู  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้  การใช้สื่อการสอน  แนวการสอน   ขั้นตอนการสอนและการเชื่อมโยงบทเรียน  การวางแผนการสอน และแผนการสอนระยะยาว  กลยุทธ์การอ่านและการตีความบทเรียน       การสอนคำศัพท์และชนิดของกิจกรรม  การสอนการอ่าน  การฝึกสอนการอ่าน  กลยุทธ์การฟังและการตีความบทเรียน  การสอนคำศัพท์และชนิดของกิจกรรม  การสอนการฟัง  การฝึกสอนการฟัง  การพัฒนาครู

LNG 512 ทฤษฎีการสอน 2  3(3-0-9)

กระบวนการเขียนและกลยุทธ์การเขียน  การสอนไวยากรณ์และการอธิบาย  กิจกรรมสำหรับ   การเขียน การสอนการเขียน การเตรียมสอนการเขียน การประเมินผลและการให้คำแนะนำสำหรับ  การแก้ไขงานเขียน  การฝึกสอนการเขียน  (ปฏิบัติในชั้นเรียนจริง)  กลยุทธ์การพูด  กิจกรรมการพูด การสอนการพูด  การเตรียมสอนการพูด  การประเมินผลและการให้คำแนะนำสำหรับการปรับปรุงการพูด การฝึกสอนการพูด (ปฏิบัติในชั้นเรียนจริง)

LNG 513       การเรียนแบบพึ่งตนเองในห้องเรียนที่มีการสอนตามแบบเดิม 3(3-0-9)

การทบทวนรายละเอียดกลยุทธ์ในการเรียนรู้  การฝึกกลยุทธ์ในการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ในห้องเรียน  การบูรณาการใช้ศูนย์การเรียนรู้แบบพึ่งตนเองในการเรียนในห้องเรียนแบบเดิม  การใช้เทคนิคการสอนต่างๆ ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง  การเรียนรู้จริงในลักษณะการฝึกสอนย่อยซึ่งรวมทั้งการวางแผนการสอน และการสะท้อนคิดผลการสอน

LNG 521       ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษา 3(3-0-9)

แนวคิดพื้นฐานเรื่องการเรียนรู้ (บริบทของการเรียน การเรียนในชั้นเรียนและการเรียนในชีวิตประจำวัน)  ทฤษฎีการเรียนรู้  (พฤติกรรมนิยม   จิตวิทยาเชิงปริชาน  การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ด้วยปัญญา การเรียนรู้เชิงปฏิสัมพันธ์   การเรียนรู้ตามแนวคิดมนุษยนิยม การเรียนรู้ด้วยการค้นพบ การเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน การเรียนรู้ผ่านโครงงานและการแก้ปัญหา  การเรียนรู้จากการสะท้อนกลับ ทักษะการคิด  การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ)  ธรรมชาติของการเรียนรู้ (ความจำ  ความเข้าใจ  โครงสร้างทางความรู้)  ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้ (ปัจจัยด้านอารมณ์  แรงจูงใจ  ความแตกต่างระหว่างบุคคล   พหุปัญญา   ทักษะและกลยุทธ์การเรียนรู้) การเรียนรู้และการซึมซับภาษาที่หนึ่งและภาษาที่สอง

LNG 522       การเรียนรู้แบบพึ่งตนเองและการฝึกผู้เรียน 3(3-0-9)

ทฤษฎีพื้นฐานของการเรียนรู้ภาษาแบบพึ่งตนเอง  ตัวอย่างของโปรแกรมการเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง   การฝึกผู้เรียน ได้แก่  วิธีการต่างๆ และเทคนิคที่เตรียมตัวผู้เรียนภาษา  การเตรียมผู้เรียนด้านจิตวิทยาและสังคม  เนื้อหาของโครงการฝึกผู้เรียน  และความหลากหลายของกลยุทธ์ที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

LNG 531       วิธีการทำวิจัย 3(3-0-9)

ความรู้เบื้องต้นเพื่อการวิจัย  กระบวนทัศน์การวิจัยและการออกแบบงานวิจัย  การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  ข้อควรพิจารณาในการวิจัย ได้แก่ ตัวแปร การเลือกกลุ่มประชากร ความเที่ยงตรงและ    ความเชื่อมั่น  การกำหนดหัวข้อวิจัย  การสร้างกรอบการวิจัย  การเก็บรวบรวมข้อมูล  เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์  การรายงานทางวาจา การเขียนบันทึก และการใช้แบบทดสอบ  การวิเคราะห์และการตีความข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  การเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์

LNG 611       เทคนิคการสอนในภาคปฏิบัติ 3(1-4-9)

การเตรียมการสอน  การลงปฏิบัติสอน  การให้คำปรึกษาและให้ข้อคิดเห็นจากอาจารย์นิเทศก์การสะท้อนความคิดของการลงปฏิบัติสอนของผู้สอนและการประเมินตนเองของผู้สอน

LNG 612       การเรียนรู้จากแหล่งการศึกษาในภาคปฏิบัติ 3(1-4-9)

การสังเกตการสอนในห้องเรียนจริง  การให้ข้อคิดและอภิปรายผลของการสังเกตการณ์การสอน  ปฏิบัติการฝึกสอนโดยใช้กลยุทธ์ในการเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง  การให้คำปรึกษาและข้อคิดของการฝึกสอน  การศึกษาและเขียนรายงานการใช้บทเรียนออนไลน์และบทเรียนทั่วไปของการเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง ประกอบการเรียนการสอนในห้องเรียน

3. หมวดวิชาเลือก

LNG 503      ภาษาในห้องเรียนสำหรับครู 3(3-0-9)

การใช้ภาษาอังกฤษในการสอนอย่างเหมาะสม  ภาษาที่นำไปใช้เพื่อการสอนภาษาอังกฤษในระดับต่างๆ  การสร้างความตระหนักทางภาษาในห้องเรียน  การออกเสียงที่เป็นที่ยอมรับของผู้ฟัง  ภาษาที่ใช้ในการสร้างบรรยากาศที่ดีในห้องเรียน  การเชื่อมโยงต่อเนื่องของส่วนต่างๆ ในบทเรียน  การจัดการและการตรวจสอบความเข้าใจบทเรียนของผู้เรียน  การส่งเสริมความมั่นใจการใช้ภาษาอังกฤษ  การทำกิจกรรมคู่ กิจกรรมกลุ่มย่อย  และการฝึกสอนกับเพื่อนร่วมเรียน  ตลอดจนกิจกรรมฝึกฝนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

LNG 523        การเรียนรู้ภาษาแบบพึ่งตนเอง 3(3-0-9)

ทฤษฎีพื้นฐานของการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ความคิดรวบยอดและเหตุผลของการเรียนรู้ด้วยตนเอง แรงจูงใจเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความแตกต่างของปัจเจกบุคคลและแนวการเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน  การเรียนด้วยตนเองในห้องเรียนปกติ  การฝึกผู้เรียน ได้แก่ การเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนรู้ถึงวิธีการเรียนรู้  การทำงานด้วยตนเอง  การผสมผสานการเรียนรู้ด้วยตนเองกับโครงการสอนหลัก  การก่อตั้งและบริหารศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง  การออกแบบบทเรียนและการประเมินระบบต่างๆ ของการเรียนด้วยตนเอง

LNG 631         การทดสอบและการวัดผล       3(3-0-9)

คำศัพท์และแนวคิดทางด้านการทดสอบ  สิ่งที่ควรพิจารณาสำคัญทางด้านการทดสอบ  ประเภทของแบบทดสอบ  การสร้างแบบทดสอบ รูปแบบของการตอบข้อสอบ การทดสอบไวยากรณ์ การทดสอบคำศัพท์ การทดสอบการพูด  การทดสอบการอ่าน การทดสอบการเขียน การทดสอบทั้งสี่ทักษะการประเมินและวัดผลแบบต่อเนื่อง การประเมินและวัดผลด้วยตนเอง  สิ่งที่ควรคำนึงถึงทางด้านการทดสอบภาษา  งานวิจัยทางด้านการทดสอบภาษา

LNG 651 การประเมินและการปรับบทเรียน 3(3-0-9)

ประเภทของสื่อการเรียน  ลักษณะของสื่อการเรียนที่มีประสิทธิภาพ  การสนับสนุนการเรียนรู้       สื่อการเรียนจากชีวิตจริงและสื่อที่สร้างเพื่อการเรียนการสอน การเลือกสื่อการเรียน  หลักการและกระบวนการในการประเมินและปรับบทเรียน การวิเคราะห์บทเรียน การปรับและเสริมบทเรียน การพัฒนาบทเรียน การทดลองใช้และการปรับแก้บทเรียน โครงงานการเลือกและปรับสื่อการเรียน

LNG 652       การออกแบบหลักสูตรและการพัฒนาบทเรียน 3(3-0-9)

หลักการในการออกแบบหลักสูตร การวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน การกำหนดจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ ของหลักสูตร หลักสูตรรูปแบบต่างๆ การพัฒนาหลักสูตรจากจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร หลักการในการพัฒนาบทเรียนสำหรับการเรียนในห้องเรียนและบทเรียนสำหรับการเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง การวิเคราะห์บทเรียน การประเมินและการปรับบทเรียน การพัฒนาบทเรียน   การทดลองใช้และการปรับบทเรียน

LNG 661       การจัดตั้งและบริหารศูนย์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งตนเอง 3(3-0-9)

ทฤษฎีและหลักการการเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง และศูนย์การเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง  ประเภทของศูนย์การเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง  การจัดตั้งและการบริหารศูนย์การเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง  ระบบการช่วยเหลือผู้เรียนที่จัดให้ในศูนย์  การให้คำปรึกษาในศูนย์  การเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้แบบพึ่งตนเองต่างๆ  การฝึกเป็นผู้ให้บริการในศูนย์  การจัดโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยตนเองในศูนย์

LNG 662       การพัฒนาครูผู้สอนและการบริหารในด้านนวัตกรรม 3(3-0-9)

ธรรมชาติและลักษณะของการเปลี่ยนแปลงและของนวัตกรรม สาเหตุและอุปสรรคของการเปลี่ยนแปลง รูปแบบต่างๆของการเปลี่ยนแปลง การปรับให้นวัตกรรมประสบความสำเร็จ แนวทางในการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลง ธรรมชาติของการพัฒนาบุคคลากร สถานะของการศึกษาไทยและการเปลี่ยนแปลงของระบบการศึกษาไทย การเปลี่ยนแปลงระดับใหญ่ของไทย การเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา   การเปลี่ยนแปลงในห้องเรียน การประเมินผลนวัตกรรม

LNG 671        การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการสอนภาษา

ทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาโดยการใช้เทคโนโลยีช่วยสอน  เทคโนโลยีและการเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง เทคโนโลยีที่ใช้ในการสอนภาษา ทั้งที่เชื่อมต่อและไม่เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์และเว็บ 2.0 การเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีไร้สาย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำหรับการเรียนการสอนภาษา รูปแบบของการเรียนออนไลน์ การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาทางวิชาชีพ  งานวิจัยทางการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนภาษา

LNG 681        หัวข้อพิเศษทาง 3(3-0-9)

วิชานี้มุ่งเน้นการอภิปรายหัวข้อและเนื้อหาอันเกี่ยวกับภาษาศาสตร์ประยุกต์ที่ทันสมัยและอยู่ในความสนใจของผู้เรียน ประกอบกับความพร้อมของอาจารย์ผู้สอน

4. วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ

LNG 691        การศึกษาพิเศษทางภาษาศาสตร์ประยุกต์

นักศึกษาจะมีโอกาสประยุกต์ใช้ทักษะและความรู้ที่ได้จากการเรียนรายวิชาต่างๆในหลักสูตรฯ เพื่อทำการศึกษาในขอบข่ายเล็กๆ โดยการสำรวจและค้นคว้าแนวคิดด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์  ในสาขาที่ตนเองสนใจ

LNG 692     โครงการศึกษาวิจัยทางภาษาศาสตร์ประยุกต์

โครงการศึกษาวิจัยนี้ จะเอื้อประโยชน์ให้นักศึกษาได้นำทักษะ และความรู้ที่ได้จากการเรียนรายวิชาต่างๆ ในหลักสูตรมาทำการวิจัย  ซึ่งมีเกณฑ์เสมือนการทำวิทยานิพนธ์แต่มีขนาดเล็กกว่าหัวข้อการศึกษาวิจัย  ควรจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับภาษาศาสตร์ประยุกต์

LNG 693        วิทยานิพนธ์ทางภาษาศาสตร์ประยุกต์

นักศึกษาจะต้องทำการวิจัยที่มีการทดลองปฏิบัติและขั้นตอนการวิจัยตามแบบแผนภายใต้การแนะนำของคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์  หัวข้อของการทำวิทยานิพนธ์จะต้องเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษหรือการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งตนเอง ทั้งที่เกิดขึ้นภายในประเทศหรือในระดับนานาชาติ



King Mongkut's University of Technology Thonburi