AUN-1 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes)


AUN-1 AUN-2 AUN-3 AUN-4 AUN-5 AUN-6 AUN-7 AUN-8 AUN-9 AUN-10 AUN-11

ผลการประเมินตนเอง

1

1.1 The expected learning outcomes have been clearly formulated and aligned with the vision and mission of the university

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม มีพัฒนาการหลักสูตรตามลำดับต่อไปนี้

ปี 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการสายวิชาสังคมศาสตร์มีความเห็นว่า สายวิชาฯควรมีหลักสูตรของตนเองในระดับปริญญาโทเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับอาจารย์และผลิตนักศึกษาและงานวิชาการให้กับสังคม  สายวิชาฯ จึงมีมติให้จัดทำหลักสูตรสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ปี 2555 หลักสูตรสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้รับอนุมัติให้เปิดหลักสูตร
ปี 2556 เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก
ปี 2559 ปรับหลักสูตรให้เหมาะสมและทันสมัยมากขึ้น
ปี 2560 ทบทวนหลักสูตร

     หลักสูตรปัจจุบันได้มีการวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน  ทั้งนี้ในเล่มหลักสูตร มคอ.2 ได้เขียนวัตถุประสงค์ของหลักสูตรไว้ดังนี้ คือ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านทฤษฎีและการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนให้สามารถเข้าใจและสามารถอธิบายปรากฎการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นด้านสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงกับมิติทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การเมืองและนโยบาย
3. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะมิติทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ
4. เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถด้านการทำวิจัยทางสังคมศาสตร์

ซึ่งวัตถุประสงค์ถูกกำหนดขึ้นโดยความต้องการของสังคมต่อการมีบุลลากรที่สามารถเชื่อมโยงปัญหาสิ่งแวดล้อม  ทั้งในมุมมองเชิงเทคนิคและสังคมเข้าด้วยกันได้  อีกทั้งวัตถุประสงค์ต้องสอดคล้องกับมาตราผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน ซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งประกอบไปด้วย

  • ด้านคุณธรรมจริยธรรม
  • ด้านความรู้
  • ด้านทักษะทางปัญญา
  • ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
  • ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีและสารสนเทศ

       อย่างไรก็ตาม ในช่วงศตวรรษที่ 21 นี้ การศึกษาได้เน้นหนักและให้ความสำคัญไปที่ learning outcomes ของทั้งในระดับหลักสูตรและรายวิชา เพราะเป็นเครื่องกำหนดและตัวชี้วัดที่สำคัญว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ หรือสามารถใช้ทักษะต่างๆ ตามที่ได้เรียนไปจากหลักสูตรหรือไม่ การกำหนด Expected Learning Outcomes ของหลักสูตรสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อมนั้นพิจารณาจากความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงมีการปรับปรุงหลักสูตรและปรับ Expected Learning Outcomes ในปี 2559  เพื่อให้มั่นใจว่า Expected Learning Outcome สามารถตอบวัตถุประสงค์ของหลักสูตรได้ทุกข้อ จึงได้นำวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมาวิเคราะห์ร่วมกับ Expected Learning Outcome ในรูปตารางเมตริกซ์ ดังต่อไปนี้

      ปรัชญาของหลักสูตร คือ มุ่งผลิตบุคลากรทางด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่สามารถบูรณการศาสตร์ทางด้านสังคมศาสตร์ในการประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างจุดประสงค์ของหลักสูตรใน มคอ.2 และ Program Learning Outcomes ของหลักสูตร

1.1

     จากตาราง 1.1 จะเห็นว่าวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังมีความสัมพันธ์กัน นั่นคือสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้ เข้าใจและสามารถทำได้เมื่อสำเร็จการศึกษาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

      เพื่อให้การจัดหลักสูตรเป็นในทิศทางเดียวกับมหาวิทยาลัย ทางหลักสูตรได้ทำการวิเคราะห์วิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย และพบว่ามหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์และพันธกิจดังนี้ คือ

วิสัยทัศน์  5 มุ่ง
มุ่งมั่น                   เป็นมหาวิทยาลัยที่ใฝ่เรียนรู้
มุ่งสู่                     ความเป็นเลิศในเทคโนโลยีและการวิจัย
มุ่งธำรง                 ปณิธานในการสร้างบัณฑิตที่เก่งและดี
มุ่งสร้าง                 ชื่อเสียงและเกียรติภูมิให้เป็นที่ภูมิใจของประชาคม
มุ่งก้าว                  ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับโลก

เป้าหมายของมหาวิทยาลัยมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 7 ด้าน (6+1 Flagships) คือ
การสร้างให้เกิดองค์กรที่ใฝ่เรียนรู้

1. Science Strengthening
2. Management Strengthening
3. The Best and The Brightest
4. Research University
5. Electronics University (e-University)
6. Learning Organization
7. Revenue Driven & Cost Conscious

     ทั้งนี้หลักสูตรได้พยายามมุ่งสร้างบัณฑิต ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ อยู่ได้ในสังคม ไทย เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข ใฝ่รู้ และเรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้ เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนา คิดได้ ทำเป็น สามารถปรับตัวได้ ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะในเป้าหมายที่ 3 The Best and The Brightest และ ที่ 4 คือ Research University โดยจะเห็นได้จาก PLO ของหลักสูตรว่าได้พยายามที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถที่จะไปเป็น Change Agent ในสังคมต่อไป

1.2 The expected learning outcomes cover both subject specific and generic (i.e. transferable) learning outcomes

    ตารางด้านล่างนั้นสรุปผลการวิเคราะห์ learning outcomes ว่าเมื่อผู้เรียนเรียนสำเร็จในรายวิชาดังกล่าวแล้ว ควรได้ learning outcomes ใดบ้างและจะมีคุณลักษณะของ  KMUTT-Student QF และความเป็น Social Change Agent อย่างไร

ตารางที่ 1.2 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังครอบคลุมทั้งความรู้และทักษะทั่วไปรวมทั้งความรู้และทักษะเฉพาะทา1.2

1.2.1 1.3 The expected learning outcomes clearly reflect the requirements of the stakeholders

    ในช่วงปีการศึกษาที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559 ยังไม่ได้มีการทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต เนื่องจากยังไม่มีบัณฑิตที่จบจากหลักสูตร จึงยังไม่มีผลการดำเนินการในส่วนนี้

ตารางที่ 1.3 ความคิดเห็นต่อ Program Learning Outcomes ของผู้ใช้บัณฑิต

1.3

คาดว่าจะมีมหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2560

เอกสารอ้างอิง