AUN-1 AUN-2 AUN-3 AUN-4 AUN-5 AUN-6 AUN-7 AUN-8 AUN-9 AUN-10 AUN-11
ผลการประเมินตนเอง
2.1 The information in the programme specification is comprehensive and up-to-date
สายวิชาสังคมศาสตร์ฯ คณะศิลปศาสตร์ ได้จัดทำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 โดยได้เขียนข้อกำหนดหลักสูตรไว้ใน มคอ. 2 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ชื่อสถาบันอุดมศึกษา | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
2. วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา | คณะศิลปศาสตร์ สายวิชาภาษา |
3. รหัสและชื่อหลักสูตร | |
3.1 ระบุรหัส : | |
3.2 ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) | หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
(ภาษาอังกฤษ) | Master of Arts Program in Environmental Social Sciences |
4. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา | |
4.1 ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม) |
(ภาษาอังกฤษ) | Master of Arts (Environmental Social Sciences) |
4.2 ชื่อย่อ (ภาษาไทย) | ศศ.ม. (สังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม) |
(ภาษาอังกฤษ) | M.A. (Environmental Social Sciences) |
5. จำนวนหน่วยกิตที่เรียตลอดหลักสูตร | 36 หน่วยกิต |
6. รูปแบบของหลักสูตร | |
6.1 รูปแบบ | หลักสูตรระดับปริญญาโท 2 ปี |
6.2 ภาษาที่ใช้ | หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทยและมีการใช้เอกสารและตำราเรียนเป็นภาษาอังกฤษ |
6.3 การรับเข้าศึกษา | รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถพูดและใช้ภาษาไทยได้ |
6.4 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น | เป็นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีโดยเฉพาะ |
6.5 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา | ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว |
7. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตรหลักสูตรปรับปรุง | หลักสูตรปรับปรุง กำหนดเปิดสอนเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2555 ได้พิจารณากลั่นกรองโดยสภาวิชาการ ในการประชุมครั้งที่ 6/2555 เมื่อวันที่ 25 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2555 ได้รับอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตรจากสภามหาวิทยาลัยฯ ในการประชุมครั้งที่ 159 เมื่อวันที่ 13 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2555 |
8. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักศุตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน | หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในปี พ.ศ. 2557 |
9. อาชีพที่สามาถประกอบได้หลักสำเร็จการศึกษา | ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้ (1) นักพัฒนาชุมชนในมิติสังคม (2) เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร ในโครงการภาคเอกชน ภาครัฐและการพัฒนาโครงการต่างๆ (3) เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility) (4) ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมในส่วนการประเมินคุณค่าการใช้ประโยชน์และคุณค่าคุณภาพชีวิต (5) ผู้ชำนาญการด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม (6) นักวิจัยด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม (7) นักวิชาการด้านสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
10. ชื่อ สกุล ตำแหน่ง และคุณวุฒิการศึกษาของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร |
|
11.สถานที่จัดการเรียนการสอน | สายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อาคารคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี- พระจอมเกล้าธนบุรี |
12.คุณสมบัติของผูเขาศึกษา | 1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาสังคมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ 2.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาสังคมศาสตร์สาขาวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาวิทยาศาสตร์ และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หลังสำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรี โดยมีหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้าหน่วยงาน หรือ 3.เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาสังคมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์หรือสาขาวิทยาศาสตร์และมีหัวข้อวิจัยซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของหลักสูตร โดยได้รับการรับรองจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และ 4. คุณสมบัติอื่นๆให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร |
13. ช่องทางในการเผยแพร่ข้อกำหนดหลักสูตร | คณะได้จัดทำเว็บไซด์ของคณะเพื่อเป็นช่องทางเผยแพร่ข้อมูลของหลักสูตร พร้อมทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ผ่านแผ่นพับ หรือผ่านการประชาสัมพันธ์รวมกับของมหาวิทยาลัย |
14.โครงสร้างหลักสูตร |
โครงสร้างหลักสูตรตามที่ได้กำหนดไว้ใน มคอ. 2 เป็นดังนี้ คือ
ตารางที่ 2.1 โครงสร้างหลักสูตร
ตารางที่ 2.1.1 แผน ก 2 (วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต)
ตารางที่ 2.1.2 แผน ข (การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต)
หมายเหตุ : หมวดวิชาภาษาอังกฤษ (ไม่นับหน่วยกิต) นักศึกษาจะต้องเรียนวิชา LNG 550 และ/หรือ LNG 600 และ/หรือได้รับการยกเว้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับคะแนนการทดสอบและเงื่อนไขตามที่คณะศิลปศาสตร์กำหนด
LNG 550 วิชาปรับพื้นภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 2 (1-2-6) (S/U)
Remedial English Course for Post Graduate Students
LNG 600 วิชาภาษาอังกฤษระหว่างการเรียนในหลักสูตรสำหรับนักศึกษา
ระดับบัณฑิตศึกษา 3 (2-2-9) (S/U)
In-sessional English Course for Post Graduate Students
2.2 The information in the course specification is comprehensive and up-to-date
ทั้งนี้ ใน course outline ของแต่ละรายวิชา นอกจากอาจารย์ผู้สอนจะอธิบาย course description แล้วlearning outcomes ของแต่ละรายวิชาได้ถูกบรรจุเข้าไป course outline รวมถึงวิธีการประเมิน ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าผู้เรียนจะเข้าใจการเรียนการสอนในรายวิชานี้เป็นอย่างดี และจากการประชุมร่วมกันอาจารย์แต่ละรายวิชาจะพยายามปรับเนื้อหาให้ทันสมัยเข้ากับสถานการณ์การเรียนสอนสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว course outline ยังมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดทุกๆ ภาคการศึกษา จะเห็นได้จากตัวอย่างของรายวิชา ESS 521 : สังคมและสิ่งแวดล้อม
อาจารย์ผู้สอน
1. ผศ.ดร.ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล | 2. ผศ.ดร.จารุวรรณ ชนม์ธนวัฒน์ |
3. ดร. ภาสนันทน์ อัศวรักษ์ | 4. ดร. ก้องกาญจน์ วชิรพนัง |
จุดมุ่งหมายของรายวิชา
- เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและวิธีการด้านกฎหมาย เทคโนโลยี การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และจิตวิทยาการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อมในโลกปัจจุบัน
- เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่สอดคล้องต่อประเด็นด้านการแก้ไขและบรรเทาปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
- เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างทฤษฎี การปฏิบัติ และกระบวน การพัฒนาทฤษฎีสู่การปฎิบัติ
- เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำเสนอผลการศึกษาในมิติเชิงบูรณาการเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
แผนการสอน
2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
มีการปรับเปลี่ยน case study ในแต่ละปีเพื่อให้เนื้อหามีความทันสมัยขึ้น
2.3 The programme and course specifications are communicated and made available to the stakeholders
สายวิชาฯ ยังไม่เคยส่งข้อกำหนดของหลักสูตรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย