AUN-6 คุณภาพบุคลากรสายวิชาการ (Academic staff Quality)


AUN-1 AUN-2 AUN-3 AUN-4 AUN-5 AUN-6 AUN-7 AUN-8 AUN-9 AUN-10 AUN-11

ผลการประเมินตนเอง

6

6.1 Academic staff planning (considering succession, promotion, re-deployment, termination, and retirement) is carried out to fulfil the needs for education, research and service (การวางแผนด้านบุคลากรสายวิชาการ)

    คณะศิลปศาสตร์มีการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์บริการประสานบริหาร ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรวางแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการระดับหลักสูตร จึงเป็นการวางแผนพัฒนาบุคลากรในภาพรวมของคณะฯ และเป็นไปตามระเบียบการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย เช่น การมุ่งสนับสนุนและส่งเสริมบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนให้ได้รับการเพิ่มพูนความรู้และสร้างประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาทักษะในวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง การเลื่อนระดับพนักงาน การประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือน เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์อัตรากำลังคนคณะศิลปศาสตร์ ปี 2555-2560 และวิเคราะห์อัตราผู้เกษียณอายุของบุคลากรประจำ คณะศิลปศาสตร์ เพื่อใช้ในการบริหารงานทรัพยากรบุคคลของคณะฯ

6.2 Staff-to-student ratio and workload are measured and monitored to improve the quality of education, research and service (อัตราส่วนบุคลากรสายวิชาการต่อนักศึกษาและภาระงานที่เหมาะสม)

     ในปีการศึกษา 2559 หลักสูตร ESS มีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน รวมทั้งหมดจำนวน 7 คน และมีนักศึกษารวมทั้งหมด 9 คน คิดเป็นสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา เท่ากับ 1 : 0.77 คน ในด้านภาระงานของอาจารย์ประจำหลักสูตร มีการกำหนดกรอบภาระงานที่ได้รับมอบหมายจำนวน  5 ด้าน ได้แก่ 1) การสอน 2) งานวิชาการ 3) งานบริหาร 4) งานบริการอื่นๆ 5) งานหาทรัพยากร ซึ่งมีการประเมินปีละ 2 ครั้ง เพื่อใช้สำหรับการประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือน (My Evaluation) ทั้งนี้ภารระงานดังกล่าว ไม่รวมถึงอาจารย์พิเศษที่หลักสูตรเชิญเข้ามาสอนในหลักสูตร

6.3 Recruitment and selection criteria including ethics and academic freedom for appointment, deployment and promotion are determined and communicated(การสรรหาและมีเกณฑ์การคัดเลือกที่ให้ความสำคัญทั้งทางด้านคุณธรรมและวิชาการเพื่อให้ได้บุคลากรที่เหมาะสม)

     เป็นไปตามกฎของมหาวิทยาลัย

6.4 Competences of academic staff are identified and evaluated (การกำหนดและประเมินสมรรถนะของบุคลากรสายวิชาการ)

     มีการประเมินอาจารย์ผู้สอน จากการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการสนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชาและดำเนินการทุกภาคการศึกษาผ่านระบบ Student Evaluation ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลของทางมหาวิทยาลัย

6.5 Training and developmental needs of academic staff are identified and activities are implemented to fulfil them (การอบรมและพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรสายวิชาการ)

     มีระบบการติดตามให้คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนนำความรู้ที่ได้จากการอบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานมาใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคลากร ทั้งนี้ คณะฯ ได้มอบหมายให้หน่วยงานและสายวิชามีการติดตามดูแลการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสังกัด จากการเข้าร่วมกิจกรรมที่บุคลากรได้รับการพัฒนาทักษะและศักยภาพ เช่น การอบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน เพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะของบุคลากรในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้คณะฯ ได้กำหนดค่าเป้าหมาย = 5 วัน/คน/ปีให้บุคลากรที่เข้ารับการอบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน ได้จัดทำรายงานการอบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานเสนอต่อหัวหน้าหน่วยงาน/ประธานสายวิชาฯ ผ่านคณบดีคณะศิลปศาสตร์ เพื่อรับทราบและให้ความเห็นในการนำความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอน   การวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

หลักสูตร จำนวนบุคลากร/อาจารย์ประจำที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มพูนความรู้
(ร้อยละ)
(4)
จำนวนวันที่เข้ารับการอบรม
(ภายใน
ประเทศ(5)
จำนวนวันที่เข้ารับการอบรม
(ต่าง
ประเทศ(6)

รวมจำนวนวันที่เข้ารับการอบรม

(7)

ค่าเฉลี่ยการเข้ารับการอบรมต่อวัน/คน/ปี

(8)

อาจารย์ประจำ

(1)

หลักสูตร ELT 17 14
(82.35)
132 52 184 10.82
หลักสูตร EPC 9 9
(100)
74 21 95 10.56
หลักสูตร ESS 7 7
(100)
94.5 70 164.5 23.50
หลักสูตร Ph.D. 15 14
(93.33)
135.5 62 197.5 13.17
รวม 46 42
(91.30)
436 205 641 13.35

     จากตารางข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า อาจารย์ประจำ ของหลักสูตร ESS (สิ้นสุด ณ ปี 2559) มีค่าเฉลี่ยการเข้ารับการอบรม เท่ากับ 23.50 วัน/คน/ปี ซึ่งสูงกว่าค่าเป้าหมายของการเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะของบุคลากรในการปฏิบัติงานที่กำหนดไว้เท่ากับ = 5 วัน/คน/ปี ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาบุคลากร Training Road Map 2020 ของมหาวิทยาลัย และแสดงถึงความสำเร็จในการส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาทักษะในวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

6.6 Performance management including rewards and recognition is implemented to motivate and support education, research and service (การจัดการการปฏิบัติงานเช่น การให้รางวัล การให้การยอมรับยกย่องเพื่อจูงใจและส่งเสริมการทำงาน)

    บุคลากรของคณะฯ มีการใช้สวัสดิการต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยจัดให้บริการ  อย่างไรก็ดี คณะฯ ยังมีนโยบายที่สนับสนุนและส่งเสริมงานด้านการวิจัย โดยมอบหมายให้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ (CRS) ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบภาระงานดังกล่าว ซึ่งอาจารย์ประจำหลักสูตรสามารถขอทุนวิจัยและทุนการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการได้จากศูนย์ CRS  นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังมีรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรที่สร้างชื่อเสียงในด้านต่างๆ ให้กับทางมหาวิทยาลัยเป็นประจำทุกปี

6.7 The types and quantity of research activities by academic staff are established, monitored and benchmarked for improvement
       ลักษณะและปริมาณของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยที่ดำเนินการ

     อาจารย์ประจำหลักสูตร ESS มีผลงานการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ในปี 2557-2559 คณะศิลปศาสตร์มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ของอาจารย์ประจำหลักสูตร ดังนี้

หลักสูตร

ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ของอาจารย์ประจำหลักสูตร

ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559
NC IC NJ IJ etc Total NC IC NJ IJ etc Total NC IC NJ IJ etc Total
ELT - 5.50 7.50 1.50 0.50 15 2 12 - 1.30 3.10 18.40 - 4.50 5.5 1 2 12
EPC - 3.50 - 1 - 4.50 - 3.50 - 1.30 0.50 5.33 - - 1.5 0.5 - 2
ESS 2 4 - 4 - 10 1 3 - - - 4 7 3 2 3 - 15
PhD - 9 1.50 1.50 0.50 12.50 - 1.30 - 1.30 2.40 4.75 - 4.50 - 3.5 1 9

– National Conference (NC)
– International Conference (IC)
– National Journal (NJ)
– International Journal (IJ)
– etc. (Book, Poster, Presentation, Other…)

หลัก

สูตร

ค่าน้ำหนักตีพิมพ์เผยแพร่ของอาจารย์ประจำหลักสูตร
ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559
NC IC NJ IJ etc Total NC IC NJ IJ etc Total NC IC NJ IJ etc Total
ELT - 2.2 3.00 1.2 0.05 6.45 0.4 4.8 - 1.06 0.31 6.57 - 1.8 2.20 0.8 0.1 4.90
EPC - 1.4 - 0.8 - 2.20 - 1.4 - 1.06 0.05 2.51 - - 0.60 0.40 - 1.00
ESS 0.4 1.6 - 3.2 - 5.20 0.2 1.2 - - - 1.40 1.40 1.20 0.8 2.4 - 5.80
PhD - 3.6 0.6 1.2 0.05 5.45 - 0.4 - 1.06 0.24 1.71 - 1.8 - 2.80 0.1 4.70
หลักสูตร

จำนวนอาจารย์ประจำ

ปีการศึกษา 2559

ค่าน้ำหนักผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ของอาจารย์ประจำ

คณะศิลปศาสตร์

ร้อยละของค่าน้ำหนักของผลงานต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
ELT 17 4.90 28.82
EPC 9 1.00 11.11
ESS 7 5.80 82.86
PhD 15 4.70 31.33
หลักสูตร ร้อยละของค่าน้ำหนักของผลงานต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559
ELT 12.63 56 28.82
EPC 40 47.27 11.11
ESS 185.71 30.77 82.86
PhD 111.11 44.70 31.33

    ทั้งนี้ ตามเกณฑ์มาตรฐานผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยของ สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) ได้กำหนดร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย ในกลุ่มทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ (กลุ่ม ง) กำหนดไว้เป็นคะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 40 ขึ้นไป เมื่อดูจากผลการดำเนินงานของอาจารย์ประจำหลักสูตร ESS ในปี 2558 พบว่า มีร้อยละของค่าน้ำหนักของผลงานต่อจำนวนอาจารย์ประจำ เท่ากับ 30.77 แม้ว่าจะมีค่าน้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ สกอ. กำหนด แต่อาจารย์ประจำหลักสูตรก็มีผลงานตีพิมพ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณภาพของงานวิชาการของหลักสูตร ในปี 2559 ค่าน้ำหนัก ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 82.86

เอกสารอ้างอิง