AUN-4 กลยุทธ์การเรียนและการสอน (Teaching and Learning Strategy)


AUN-1 AUN-2 AUN-3 AUN-4 AUN-5 AUN-6 AUN-7 AUN-8 AUN-9 AUN-10 AUN-11

ผลการประเมินตนเอง

4

4.1 The educational philosophy is well articulated and communicated to all stakeholders

          สำหรับปรัชญาการศึกษา นั้นประธานหลักสูตรจะเป็นผู้ที่สื่อสารกับอาจารย์ผู้สอนในหลักสูตรให้รับทราบตรงกัน เพื่อที่อาจารย์แต่ละท่านจะได้กลับไปตรวจสอบว่า learning outcomes ของตนเองนั้นสอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาของหลักสูตรหรือไม่  และในทุกภาคการศึกษา หนึ่งสัปดาห์ก่อนจะเริ่มการเรียนการสอน อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะจัดการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่เพื่ออธิบายปรัชญาการศึกษา วัตถุประสงค์ และ PLO ของหลักสูตร ทั้งนี้ยังมีอีกสองกลุ่มที่ยังไม่สามารถที่จะสื่อสารปรัชญาการศึกษา คือกลุ่มศิษย์เก่า และผู้ใช้บัณฑิต

4.2 Teaching and learning activities are constructively aligned to the achievement of the expected learning outcomes

      เพื่อให้การเรียนการสอนสัมพันธ์กันกับ expected learning outcomes  สายวิชาฯ ได้มีข้อตกลงในกลุ่มอาจารย์ผู้สอนว่ากลยุทธ์การเรียนการสอนควรจะไปในทิศทางเดียวกัน คือ ฝึกให้ผู้เรียนได้รู้จักคิดวิเคราะห์ ทำงานหนัก และมีใจใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ยังเน้นเรื่องการเรียนรู้ร่วมกัน (collaborative learning) ให้ผู้เรียนช่วยเหลือกันและฝึกการทำงานเป็นทีม ผู้เรียนต้องฝึกอ่านงานที่ได้รับมอบหมายล่วงหน้า และพร้อมที่จะแสดงความคิดเห็น เมื่อต้องทำ group discussion นอกจากนี้แล้ว ผู้เรียนยังถูกสอนให้เรียนรู้ที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เรียนรู้ที่จะวิเคราะห์ วิจารณ์ผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์
อาจารย์ผู้สอนทุกท่านต้องส่ง มคอ.3 เพื่อแสดงการวางแผนการสอนทุกครั้งก่อนที่จะเริ่มภาคการศึกษา ทั้งนี้ใน มคอ.3 นั้นจะแจ้งรายละเอียดอย่างชัดเจน ถึงหัวข้อและกระบวนการสอนทั้ง 15 สัปดาห์ วิธีการประเมินผล ตำราและหนังสือที่ต้องอ่าน และวิธีการประเมินพร้อมสัดส่วนคะแนน ในสัปดาห์แรกของการเรียน อาจารย์ผู้สอนทุกท่านจะอธิบายรายละเอียดดังกล่าวให้ผู้เรียนรับทราบ  ส่วนกลยุทธ์การเรียนการสอนที่จะทำให้ผู้เรียนได้ความรู้และสามารถใช้ความรู้ในเชิงวิชาการ มีดังนี้ คือ

4.2.1 Active learning อาจารย์ผู้สอน พยายามส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ผ่านกิจกรรมหลายๆ ช่องทาง เช่น มีการอภิปรายกลุ่ม  การนำเสนอหน้าชั้นเรียน การทำโครงงาน การศึกษาวิจัย ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ จะฝึกให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวตลอดเวลาในการเรียน และใช้สมองคิดวิเคราะห์ไม่ใช่รับฟังแต่เพียงฝ่ายเดียว

4.2.2 Sharing and discussion เนื่องจากทางหลักสูตรมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ของเพื่อนร่วมชั้นเรียน จึงพยายามส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดเห็น มีการวิเคราะห์วิจารณ์การฝึกสอนของเพื่อนร่วมชั้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเปิดใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ร่วมไปถึงเรียนรู้ข้อผิดพลาดของผู้อื่น แต่เปิดใจที่จะเข้าใจสาเหตุ หรือฝึกที่จะชมเชยผู้อื่นเมื่อฝึกสอนได้อย่างดี ทั้งนี้การแสดงความคิดเห็นดังกล่าว ต้องยึดหลักทฤษฎีทางวิชาการเสมอ ไปได้แสดงไปตามอารมณ์ของตนเอง

4.2.3 Promote critical thinking ในการเรียนการสอนนั้น อาจารย์ผู้สอนจะให้ feedback หรือคำแนะนำ เมื่อผู้เรียนได้ทำงานแต่ละชิ้นเสร็จสิ้นแล้ว แต่ก่อนจะได้รับ feedback ดังกล่าว ผู้เรียนต้องฝึกหัดที่จะวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสียของตนเอง ก่อนที่จะรับ  feedback จากอาจารย์ หากเป็นในรายวิชาที่มีการฝึกสอน อาจารย์ผู้สอนจะมอบหมายให้เขียน reflections เพื่อฝึกคิดสะท้อนการทำงานของตนเอง

โดยสรุปแล้ว การเรียนการสอนที่ใช้เพื่อกระตุ้นในเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีดังนี้คือ
– การอภิปรายกลุ่ม
– การทำโครงงาน
– การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
– การทำโครงงานศึกษาวิจัย
– การทดลองฝึกสอน
– การเขียนรายงาน
– การสอบ

       ซึ่งจะเห็นได้ว่า กลยุทธ์การเรียนการสอนที่อาจารย์ผู้สอนทุกท่านใช้นั้น ล้วนเป็นวิธีการที่กระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างแท้จริง เพื่อที่จะสามารถนำทักษะและความรู้ดังกล่าวไปใช้ในสถานการณ์จริง และสามารถที่จะตรวจสอบกลับไปได้ว่าผู้เรียนประสบความสำเร็จมีความสามารถตามที่ได้ตั้ง learning outcomes ไว้หรือไม่

4.3 Teaching and learning activities enhance life-long learning

     ในระหว่างที่สอน อาจารย์ผู้สอนทุกรายวิชาได้พยายามเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมอบหมายงานให้ได้ไปค้นคว้าวิเคราะห์ จากนั้นจึงนำมาเสนอหรืออภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน นอกจากนี้การกระตุ้นให้ทำโครงงานต่างๆ ก็นำว่า เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ ทดลองคิด ศึกษา แก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งทักษะเหล่านี้ ล้วนนำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองทั้งสิ้น

      สายวิชาภาษา คณะศิลปสาสตร์ ได้จัดโครงการต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น โครงการสอนหนังสือให้กับชุมชน หรือ โครงการสอนภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ซึ่งการเข้าร่วมโครงการเหล่านี้ ผู้เรียนต้องฝึกสร้างบทเรียน การทำงานเป็นทีม และฝึกแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และฝึกที่จะเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น

เอกสารอ้างอิง