AUN-1 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes)


AUN-1 AUN-2 AUN-3 AUN-4 AUN-5 AUN-6 AUN-7 AUN-8 AUN-9 AUN-10 AUN-11

ผลการประเมินตนเอง

1

1.1 The expected learning outcomes have been clearly formulated and aligned with the vision and mission of the university

     หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ ด้านการสอนภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 มีพัฒนาการโดยไล่เรียงตามลำดับได้ดังนี้ คือ

  1. 1981-1983 Teacher training and Full-time teacher preparation
  2. 1984 Launched MA in Applied Linguistics (EST)
  3. 1984-2000 MA in Applied Linguistics (EST)
  4. 2001-2006 MA in Applied Linguistics (ELT)
  5. 2007-2011 MA in Applied Linguistics (ELT)
  6. 2012-2016 MA in Applied Linguistics (ELT)
  7. 2017- present revised curriculum

     โดยเริ่มต้นจากการเป็นหลักสูตรภาษาศาสตร์ประยุกต์ ด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากนั้นได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมจนมาเป็นหลักสูตรปัจจุบัน และในหลักสูตรปัจจุบันได้มีการวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนโครงสร้างมาโดยตลอดตามแผนที่ได้ตั้งเอาไว้ ทั้งนี้ในเล่มหลักสูตร มคอ.2 ได้เขียนวัตถุประสงค์ของหลักสูตรไว้ดังนี้ คือ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

  1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้และมีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
  2. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการศึกษาได้ตามนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ และก้าวทันต่อนวัตกรรมทางการศึกษาในระดับนานาชาติ เป็นมหาบัณฑิตผู้ใฝ่รู้ มีวิสัยทัศน์ในการทำงาน
  3. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเข้าใจทักษะการเรียนรู้ มีความคิดวิเคราะห์ สามารถฝึกฝนผู้เรียนให้พัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้ด้วยตนเอง
  4. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเข้าใจความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมเพื่อให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระดับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรมของความเป็นครู มีความเป็นผู้นำ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
  6. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่เห็นคุณค่าและรู้รักษ์ในศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น

     ซึ่งการเขียนวัตถุประสงค์ในขณะนั้นถูกเขียนขึ้นโดยศึกษาจากความคาดหวังของสังคมที่มีต่อครูผู้สอนภาษาอังกฤษ และพยายามให้สอดคล้องกับมาตราผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน ซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งประกอบไปด้วย

  • ด้านคุณธรรมจริยธรรม
  • ด้านความรู้
  • ด้านทักษะทางปัญญา
  • ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
  • ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีและสารสนเทศ

    อย่างไรก็ตาม ในช่วงศตวรรษที่ 21 นี้ การศึกษาได้เน้นหนักและให้ความสำคัญไปที่ learning outcomes ของทั้งในระดับหลักสูตรและรายวิชา เพราะเป็นเครื่องกำหนดและตัวชี้วัดที่สำคัญว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ หรือสามารถใช้ทักษะต่างๆ ตามที่ได้เรียนไปจากหลักสูตรหรือไม่ การกำหนด Expected Learning Outcomes ของหลักสูตรนั้น ต้องได้รับการพิจารณาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  ทั้งนี้สำหรับหลักสูตร ในปีการศึกษา 2559 เพื่อให้การปรับปรุงหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ประยุกต์ ด้านการสอนภาษาอังกฤษ (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 เป็นไปได้ตามความต้องการของ  stakeholders อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้สอบถามความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4 กลุ่ม คือ อาจารย์ผู้สอน นักศึกษา เจ้าหน้าที่ ผู้ใช้บัณฑิต และศิษย์เก่า และได้กำหนด Expected Learning Outcomes ไว้ทั้งสิ้น 10 ข้อ

     จุดประสงค์ของหลักสูตร คือ To produce a teacher who can be the ‘Social Change Agent’ 

ตารางที่ 1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างจุดประสงค์ของหลักสูตรใน มคอ.2 และ Program Learning Outcomes ของหลักสูตร

No. Learning Outcomes Programme Objectives
1 2 3 4 5 6
1 An ability to understand and be able to apply the principles of teaching into practices   /        
2 An ability to conduct the research in the areas of applied linguistics and English language learning and teaching            
3 An ability to understand linguistic concepts and Terminology            
4 An ability to demonstrate appropriate language pedagogical knowledge and be able to reflect the aspects learned critically     /      
5 An ability to comprehend both psychological and social factors associated with language acquisition and development            
6 An ability to analyse the compatibility of different materials and technological tools with current themes of language acquisition and use them appropriately   /        
7 An ability to analyse assessment in various forms and design tests            
8 An ability to be aware of ethical issues in teaching and learning, and conducting research         /  
9 An ability to master learning skills and English efficiently /     /    
10 An ability to pursue life-long learning by themselves     /      

    จะเห็นได้ว่าเมื่อมีการวิเคราะห์จุดประสงค์ของหลักสูตรตาม มคอ.2 แล้วพบว่า learning outcomes ที่ได้กำหนดขึ้นมานี้ค่อนข้างระบุผลการเรียนรู้ที่ชัดเจน มากกว่าจุดประสงค์ที่กล่าวไว้ใน มคอ.2 ซึ่งกล่าวไว้อย่างกว้าง  และเพื่อให้การจัดหลักสูตรเป็นในทิศทางเดียวกับมหาวิทยาลัย ทางหลักสูตรได้ทำการวิเคราะห์วิสัยทัศน์และพันธกิจของมหาวิทยาลัย และพบว่ามหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์และพันธกิจดังนี้ คือ

วิสัยทัศน์  5 มุ่ง
มุ่งมั่น                   เป็นมหาวิทยาลัยที่ใฝ่เรียนรู้

มุ่งสู่                     ความเป็นเลิศในเทคโนโลยีและการวิจัย
มุ่งธำรง                 ปณิธานในการสร้างบัณฑิตที่เก่งและดี
มุ่งสร้าง                 ชื่อเสียงและเกียรติภูมิให้เป็นที่ภูมิใจของประชาคม
มุ่งก้าว                  ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับโลก

เป้าหมายของมหาวิทยาลัยมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 7 ด้าน (6+1 Flagships) คือ
การสร้างให้เกิดองค์กรที่ใฝ่เรียนรู้

1. Science Strengthening
2. Management Strengthening
3. The Best and The Brightest
4. Research University

5. Electronics University (e-University)
6. Learning Organization
7. Revenue Driven & Cost Conscious

     ทั้งนี้หลักสูตรได้พยายามมุ่งสร้างบัณฑิต ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ อยู่ได้ในสังคม ไทย เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข ใฝ่รู้ และเรียนรู้วิธีการแสวงหาความรู้ เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนา คิดได้ ทำเป็น สามารถปรับตัวได้ ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะในเป้าหมายที่ 3 The Best and The Brightest และ ที่ 4 คือ Research University โดยจะเห็นได้จาก PLO ของหลักสูตรว่าได้พยายามที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถที่จะเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดมีคุณภาพที่สุด ในขณะเดียวหลักสูตรก็ส่งเสริมให้ผู้เรียนใส่ใจและสนใจในการทำวิจัย เพราะถือว่าการทำงานวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของ professional development ในด้านการเรียนการสอน ช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในชั้นเรียน และเป็นการสร้างองค์ความรู้ให้กับอาจารย์ผู้สอนอีกด้วย

1.2 The expected learning outcomes cover both subject specific and generic (i.e. transferable) learning outcomes

    ตารางด้านล่างนั้นสรุปผลการวิเคราะห์ learning outcomes ว่าเมื่อผู้เรียนเรียนสำเร็จในรายวิชาดังกล่าวแล้ว ควรได้ learning outcomes ใดบ้างและจะมีคุณลักษณะของ  KMUTT-Student QF และความเป็น Social Change Agent อย่างไร

ตารางที่ 1.2 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังครอบคลุมทั้งความรู้และทักษะทั่วไปรวมทั้งความรู้และทักษะเฉพาะทาง

No. Learning Outcomes Courses KMUTT-Student QF

Social

Change Agent

1 An ability to understand and be able to apply the principles of teaching into practices LNG 511
LNG 512
LNG 611
Knowledge
Professional skills
Thinking skills
Leadership
Adaptability
Social responsibility
Humanization
Management skills
Value
Potential &
Competent
Global
leader
2 An ability to conduct the research in the areas of applied linguistics and English language learning and teaching LNG 531
LNG 691
LNG 692
LNG 693
Knowledge
Learning skills
Thinking skills
Management skills
Social responsibility
Potential &
Competent
Global leader
3 An ability to understand linguistic concepts and Terminology LNG 501 Knowledge
Learning skills
Thinking skills
Potential & Competent
4 An ability to demonstrate appropriate language pedagogical knowledge and be able to reflect the aspects learned critically Every course Knowledge
Learning skills
Thinking skills
Potential &
Competent
5 An ability to comprehend both psychological and social factors associated with language acquisition and development LNG 502
LNG 521
Knowledge
Learning skills
Thinking skills
Potential &
Competent
6 An ability to analyse the compatibility of different materials and technological tools with current themes of language acquisition and use them appropriately LNG 651
LNG 671
Knowledge
Learning skills
Thinking skills
Management skills
Potential &
Competent
Global leader
7 An ability to analyse assessment in various forms and design tests LNG 631 Knowledge
Learning skills
Thinking skills
Potential & Competent
8 An ability to be aware of ethical issues in teaching and learning, and conducting research LNG 511
LNG 512
LNG 531
LNG 611
Social responsibility
KMUTT’s citizenship
Value
9 An ability to master learning skills and English efficiently LNG 500
Every course
Knowledge
Learning skills
Communication skills
Potential & Competent
10 An ability to pursue life-long learning by themselves Every course Learning skills Potential & Competent

1.3 The expected learning outcomes clearly reflect the requirements of the stakeholders

     ในช่วงปีการศึกษาที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2559 ได้มีการทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต โดยได้สำรวจตามหัวข้อดังต่อไปนี้ การสำรวจได้สะท้อนว่าผู้ใช้บัณฑิตจำนวน 6 ท่าน ที่มีความคาดหวังบัณฑิตที่จบจากหลักสูตรนี้ดังนี้ คือ

ตารางที่ 1 ความคิดเห็นต่อ Program Learning Outcomes ของผู้ใช้บัณฑิต

No. Learning Outcomes ผู้ใช้บัณฑิต (คะแนนเต็ม4) 
1 An ability to understand and be able to apply the principles of teaching into practices 3.67
2 An ability to conduct the research in the areas of applied linguistics and English language learning and teaching 3.50
3 An ability to understand linguistic concepts and Terminology 3.67
4 An ability to demonstrate appropriate language pedagogical knowledge and be able to reflect the aspects learned critically 3.83
5 An ability to comprehend both psychological and social factors associated with language acquisition and development 3.50
6 An ability to analyse the compatibility of different materials and technological tools with current themes of language acquisition and use them appropriately 3.67
7 An ability to analyse assessment in various forms and design tests 3.83
8 An ability to be aware of ethical issues in teaching and learning, and conducting research 3.83
9 An ability to master learning skills and English efficiently 3.67
10 An ability to pursue life-long learning by themselves 3.83

     โดยสรุปจะเห็นว่า ผู้ใช้บัณฑิตเห็นว่าหลักสูตรได้ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถตาม learning outcomes ที่ได้กำหนดไว้   โดย  PLO 4, 7, 8 และ 10 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (3.83) ส่วนที่ได้ค่าเฉลี่ยต่ำสุด  คือ PLO 2  และ 5 (3.50) ซึ่งเป็นไปได้ว่าเนื้อหาวิชาในส่วนนี้ค่อนข้างมุ่งไปทางทฤษฎีอาจจะยากต่อการทำความเข้าใจ ร่วมไปถึงความสามารถในการทำวิจัย ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ทางหลักสูตรจะนำไปใช้เพื่อปรับปรุงการออกแบบหลักสูตรในปี 2560 ต่อไป

เอกสารอ้างอิง