AUN-7 คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน (Support staff Quality)


AUN-1 AUN-2 AUN-3 AUN-4 AUN-5 AUN-6 AUN-7 AUN-8 AUN-9 AUN-10 AUN-11

ผลการประเมินตนเอง

7

7.1 Support staff planning (at the library, laboratory, IT facility and student services) is carried out to fulfil the needs for education, research and service
   คณะศิลปศาสตร์มีการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์บริการประสานบริหาร ดังนั้น การพัฒนาบุคลากรวางแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของระดับหลักสูตร จึงเป็นการวางแผนพัฒนาบุคลากรในภาพรวมของคณะฯ ซึ่งได้ถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเชิงกลยุทธ์ คณะศิลปศาสตร์ โดยมุ่งสนับสนุนและส่งเสริมบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนให้ได้รับการเพิ่มพูนความรู้และสร้างประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาทักษะในวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เป็นไปตามระเบียบการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย เช่น การมุ่งสนับสนุนและส่งเสริมบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนให้ได้รับการเพิ่มพูนความรู้และสร้างประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาทักษะในวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง การเลื่อนระดับพนักงาน การประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือน เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการวิเคราะห์อัตรากำลังคนคณะศิลปศาสตร์ ปี 2555-2560 และวิเคราะห์อัตราผู้เกษียณอายุของบุคลากรประจำ คณะศิลปศาสตร์ เพื่อใช้ในการบริหารงานทรัพยากรบุคคลของคณะฯ

 7.2 Recruitment and selection criteria for appointment, deployment and promotion are determined and communicated
     บุคลากรปฏิบัติตามระเบียบการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัย และ Training Road Map 2020 เช่น การมุ่งสนับสนุนและส่งเสริมบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนให้ได้รับการเพิ่มพูนความรู้และสร้างประสบการณ์ ตลอดจนพัฒนาทักษะในวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง การเลื่อนระดับพนักงาน การประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือน เป็นต้น

7.3 Competences of support staff are identified and evaluated
     บุคลากรของคณะฯ มีการประเมินการเลื่อนขั้นเงินเดือนปีละ 2 ครั้ง ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยคณะฯ มีการดำเนินการสำรวจความต้องการการสำรวจความต้องการในการอบรมเพิ่มพูนความรู้ของบุคลากรสายสนับสนุน เพื่อให้ทราบถึงความต้องการในการพัฒนาบุคลากรของคณะฯ และมีการประเมินความพึงพอใจในการให้บริการของบุคลากรสายสนับสนุน ในกลุ่มที่ทำหน้าที่สนับสนุนด้านการบริการในห้องสมุด ด้านห้องปฎิบัติการ ด้านคอมพิวเตอร์ และการให้บริการนักศึกษา เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงสมรรถนะบุคลากรในกลุ่มงานบริการดังกล่าว ให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น โดยได้วิเคราะห์ผลประเมิน จากจำนวนนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาทั้ง 54 คน ดังนี้ คือ

  1. งานบริการการศึกษา
    1
  2. งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
    2
  3. งานห้องสมุด (Resource Center)
    3
  4. งานการเงินและบัญชี   (เฉพาะนักศึกษาทุน และนักศึกษา TA, RA)
    4
  5. งานพัสดุ  ( ดูแลการเบิกจ่ายยืม-คืนพัสดุ /การขอใช้พื้นที่ / จัดซื้อจัดจ้าง / ซ่อมบำรุงสาธารณูปโภค )
    5
  6. งานโสตทัศนศึกษา  ( ดูแลสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอน )
    6
  7. ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และโครงสร้างพื้นฐาน
    78
    9

    ซึ่งจากผลประเมินดังกล่าวจะเห็นว่านักศึกษามีความพึงพอใจการให้บริการของเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนในระดับมากถึงมากที่สุดในทุกหมวด

7.4 Training and developmental needs of support staff are identified and activities are implemented to fulfil them
   มีโครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนและจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนด้าน Competency & Good Citizenship เพื่อให้บุคลากรได้เพิ่มพูนความรู้และพัฒนาศักยภาพในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และมีระบบการติดตามให้คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนนำความรู้ที่ได้จากการอบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานมาใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคลากร ทั้งนี้ คณะฯ ได้มอบหมายให้หน่วยงานและสายวิชามีการติดตามดูแลการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสังกัด จากการเข้าร่วมกิจกรรมที่บุคลากรได้รับการพัฒนาทักษะและศักยภาพ เช่น การอบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน เพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะของบุคลากรในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้คณะฯ ได้กำหนดค่าเป้าหมาย = 5 วัน/คน/ปีให้บุคลากรที่เข้ารับการอบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงาน ได้จัดทำรายงานการอบรม/สัมมนา/ศึกษาดูงานเสนอต่อหัวหน้าหน่วยงาน/ประธานสายวิชาฯ ผ่านคณบดีคณะศิลปศาสตร์ เพื่อรับทราบและให้ความเห็นในการนำความรู้ที่ได้รับจากการพัฒนาไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอน   การวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง

7.5 Performance management including rewards and recognition is implemented to motivate and support education, research and service
     ใช้สวัสดิการต่างๆ ตามระเบียบของมหาวิทยาลัย      อย่างไรก็ดี คณะฯ มีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมงานด้านการวิจัย โดยมอบหมายให้ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ (CRS) ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบภาระงานดังกล่าว ซึ่งบุคลากรสายสนับสนุนสามารถขอทุนวิจัยและทุนการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการได้จากศูนย์ CRS นอกจากนี้ ยังสามารถขอทุนดังกล่าวได้จาก สวท.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย

เอกสารอ้างอิง